6 สิ่งที่ต้องรู้ สำหรับมือใหม่หัดเล่นหุ้น

มือใหม่หัดเล่นหุ้นหลายคนอาจยังไม่กล้าที่จะลงเล่นหุ้น แม้ว่าการเล่นหุ้นจะเป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูง แต่ก็มีปัจจัยและความเสี่ยงอยู่หลายอย่าง
AVC Insurance

AVC Insurance

มือใหม่หัดเล่นหุ้น

SHARES

        เป็นที่รู้กันดีว่า การลงทุนในตลาดหุ้น หรือการเล่นหุ้น เป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูง ทำให้หลาย ๆ คนอยากจะลองลงทุนหรือเล่นหุ้นบ้าง

 

        แต่ในขณะเดียวกัน ภายใต้ผลตอบแทนสูงนั้น การเล่นหุ้นเองก็มีปัจจัย และความเสี่ยงที่ทำให้หลาย ๆ คนก็ยังไม่กล้าที่จะลงเล่น ยังจับต้นชนปลายไม่ถูก ว่าควรจะเริ่มลงทุนหุ้นอย่างไรดี หรือบางคนอาจจะเริ่มเล่นหุ้นโดยที่ยังไม่เข้าใจอะไรเลย เพราะถือคติว่า “ไม่ลองไม่รู้ ได้เจ็บตัวก่อนเดี๋ยวก็รู้เอง”

 

        แม้ว่าในปัจจุบัน จะมี แบบประกันควบการลงทุน หรือยูนิตลิงค์ ออกมาเพื่อตอบโจทย์การวางแผนการเงินระยะยาว ซึ่งสามารถทำควบคู่กับ ประกันสุขภาพ ได้เลย แต่บางคนก็อาจจะมองว่า ยูนิตลิงค์ ยังเป็นการเกาที่ไม่ตรงจุดเสียทีเดียว

 

        ดังนั้น AVC จึงขอรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นสำหรับมือใหม่เล่นหุ้นที่ควรรู้ เอาไว้ในบทความนี้

 

6 สิ่งที่ต้องรู้ | มือใหม่หัดเล่นหุ้น

รู้จัก “ตัวเอง”

ตั้งเป้าหมายการลงทุนของตัวเองก่อนเริ่มเล่นหุ้น

        การกำหนดเป้าหมายการลงทุนเป็นสิ่งที่สำคัญมาก การลงทุนแบบมีเป้าหมาย จะทำให้เราเลือกหุ้นและความเสี่ยงได้เหมาะสม ยกตัวอย่างเช่น ถ้าอยากลงทุนเพื่อ วางแผนการศึกษาบุตร หรือวางแผนเกษียณ การเลือกหุ้นที่มีความเสี่ยงสูง ราคาเหวี่ยง ก็อาจจะไม่เหมาะสมกับเป้าหมาย เราอาจจะต้องดูเป็นหุ้นของบริษัทที่มีแนวโน้มการเติบโตระยะยาวดี พื้นฐานดี ความเสี่ยงต่ำถึงปานกลาง ซึ่งน่าจะเหมาะสมกับเป้าหมายของเรามากกว่า

 

กำหนดความเสี่ยงที่ยอมรับได้

        อย่างที่กล่าวไปในตอนต้นว่า การเล่นหุ้น เป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูง แต่ในขณะเดียวกัน การเล่นหุ้นเองก็มีความเสี่ยงสูงเช่นกัน ตอบตัวเองให้ได้ว่า เราสามารถรับความเสี่ยงเพื่อจะไปให้ถึงเป้าหมายที่เราตั้งไว้ได้มากน้อยแค่ไหน ถ้ายังไม่แน่ใจ ทางโบรกเกอร์จะมีแบบสอบถามประเมินความสามารถในการยอมรับความเสี่ยงให้เราทำตอนที่เราไปเปิดบัญชีซื้อขายหุ้น

 

 

รู้จัก “หุ้น”

        การลงทุนใน “หุ้น” คือการลงทุนเพื่อซื้อสิทธิ์ในความเป็นเจ้าของกิจการ โดยข้อแตกต่างระหว่างการซื้อหุ้นกับการเปิดร้านเองก็คือ การซื้อหุ้น = การลงทุน ลงเงิน โดยเราเลือกดูก่อนการตัดสินใจลงทุนได้ว่า แนวโน้มธุรกิจนั้น ๆ เป็นอย่างไร มีโอกาสในการทำกำไรมากน้อยแค่ไหน แต่ไม่จำเป็นต้องลงแรงเอง เพราะนั่นเป็นหน้าที่ของเจ้าของกิจการ

 

รู้จัก “ตลาดหุ้น”

        ตลาดหุ้น คือ ที่ ๆ ทำให้ “คนต้องการเงินทุน” กับ “นักลงทุน” มาเจอกัน โดยตลาดหุ้นในประเทศไทยจะมีชื่อว่า “ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET)”  โดยเวลาเปิด-ปิดของ SET นั้นแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ

  • ช่วงเช้า เปิดระหว่าง 09.55 – 10.00 น. ถึง 12.30 น.
  • ช่วงบ่าย เปิดระหว่าง 14.25 – 14.30 น. ถึง 16.35 – 16.40 น.

        นอกจากนี้ ตลาดหุ้นไทยยังสามารถแบ่งประเภทตาม หุ้นที่มีมูลค่าตามราคาตลาด (Market Capital) และสภาพคล่องในการซื้อขาย ได้อีก 2 กลุ่มหลัก ๆ คือ

  • SET50 คือ หุ้นที่มีมูลค่าตามราคาตลาด และสภาพคล่องในการซื้อขายสูงสุด 50 อันดับแรก โดยตลาดนี้ เหมาะกับนักลงทุนมือใหม่ เพราะเป็นหุ้นขนาดใหญ่และมีสภาพคล่องสูง
  • SET100 คือ หุ้นที่มีมูลค่าตามราคาตลาด และสภาพคล่องในการซื้อขายสูงสุด 100 อันดับแรก


รู้จัก “ผลตอบแทนจากการลงทุน”

กำไรจากส่วนต่างราคา (Capital Gain)

        เปรียบเทียบง่าย ๆ กับการซื้อทองหรือซื้อสกุลเงินต่างประเทศ เช่น เราซื้อหุ้น X จำนวน 100 หุ้น มาที่ราคาหุ้นละ 10 บาท และขายออกไปที่ราคา 12 บาท เท่ากับเราได้กำไรจากส่วนต่างราคาอยู่ที่ 200 บาท หรือ 20% นั่นเอง

 

กำไรจากเงินปันผล (Dividend Yield)

        หากเราเลือกลงทุนหุ้นในบริษัทที่มีผลประกอบการดี บริษัทก็อาจจะพิจารณาจ่ายเงินปันผลให้แก่เราที่เป็นผู้ลงทุนได้ แต่ก็ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละบริษัทด้วยว่า จะจ่ายเงินปันผลให้ในแต่ละปีหรือไม่ อย่างไร

 

 

รู้จัก “การเปิดพอร์ตหุ้น”

        ก่อนที่เราจะเป็นนักเล่นหุ้นได้นั้น เราต้องมีพอร์ตหุ้นก่อน ซึ่งพอร์ตหุ้นโดยทั่วไปจะมีอยู่ 3 แบบ

 

บัญชีเงินสด (Cash Account)

        บัญชีเงินสด เป็นบัญชีประเภท “ลงทุนก่อน จ่ายเงินทีหลัง” คือ เราไม่ต้องนำเงินทั้งหมดมาใส่ไว้ในพอร์ต เพียงแค่วางหลักประกัน 15% ของวงเงินที่อนุมัติแล้วไว้ในบัญชี ก็สามารถทำการซื้อขายหุ้นได้แล้ว แต่ต้องนำเงินมาชำระภายใน 3 วันทำการหลังจากซื้อขายหุ้น (T+3) ไม่อย่างนั้นจะโดนค่าปรับได้ ดังนั้น บัญชีเงินสดจึงเหมาะสำหรับนักลงทุนมือใหม่ และนักลงทุนที่มีวินัยในการลงทุน

 

บัญชีแคชบาลานซ์ (Cash Balance)

        บัญชีแคชบาลานซ์ เป็นบัญชีที่เราต้องนำเงินฝากเข้าไปในพอร์ตก่อน ถึงจะทำการซื้อขายหุ้นได้ เหมาะสำหรับนักลงทุนมือใหม่ และนักลงทุนที่มีเงินลงทุนไม่มากนัก และต้องการจำกัดวงเงินในการลงทุน เพราะเป็นการลงทุนเท่าจำนวนเงินที่มี แถมถ้าไม่ได้เทรดหุ้น ก็ยังได้ดอกเบี้ยหมือนการฝากเงินในบัญชีออมทรัพย์ ซึ่งในปัจจุบัน โบรกเกอร์ส่วนใหญ่นิยมให้ลูกค้าเปิดบัญชีประเภทนี้

 

บัญชีมาร์จิ้น (Margin Account) หรือเครดิตบาลานซ์ (Credit Balance)

        เครดิตบาลานซ์ เป็นบัญชีที่เราสามารถกู้เงินจากโบรกเกอร์ได้ ไม่จำเป็นต้องใช้วงเงินของตัวเองทั้งหมด ซึ่งจะมีการคิดดอกเบี้ยตามที่กำหนดไว้ โดยนักลงทุนต้องวางหลักประกันในการกู้ยืมตามที่โบรกเกอร์กำหนด และจะสามารถซื้อขายได้เฉพาะหุ้นที่โบรกเกอร์กำหนดให้ซื้อขายผ่านเครดิตบาลานซ์ได้เท่านั้น เครดิตบาลานซ์ เหมาะสำหรับนักลงทุนที่มีประสบการณ์การลงทุนสูง และมีความสามารถในการชำระหนี้ได้ดี

        โดยเราสามารถไปเปิดพอร์ตหุ้นได้ที่บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ต่าง ๆ ในประเทศไทย โดยการหาโบรกเกอร์ผ่านเว็บไซต์ www.settrade.com หรือถ้าอยากรู้ว่าควรเปิดพอร์ตหุ้นที่ไหนดี หาข้อมูลเพิ่มเติมจากลิงก์นี้ คลิก 

 

 

รู้จัก “ชื่อหุ้น”

        ก่อนจะเป็นนักลงทุน เราควรจะรู้ชื่อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ก่อน โดยเราสามารถหาชื่อหุ้นของบริษัทต่าง ๆ ได้ที่ www.set.or.th เลือกเมนู Get Quote เราก็จะรู้ชื่อหุ้นและชื่อของบริษัทที่เราจะลงทุน หรือถ้าเราเคยเห็นชื่อหุ้นตัวไหนที่คุ้นเคย ก็สามารถค้นหาจากเมนูนี้ได้เลยเช่นกัน

 

        แม้การลงทุนในหุ้นจะไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากจนเกินไป อย่างไรก็ตาม การลงทุนในหุ้นนั้น ต้องนับได้ว่าไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว เพราะแต่ละนักลงทุนเองก็มีปัจจัย เป้าหมาย และความสามารถในการยอมรับความเสี่ยงที่แตกต่างกัน

 

        ดังนั้น ก่อนที่จะเริ่มลงทุนและเปิดบัญชีซื้อขายหุ้น นักลงทุนต้องหาสไตล์การลงทุนของตัวเองให้ได้ก่อน แล้วจึงเริ่มศึกษาข้อมูล รายละเอียด เงื่อนไขต่าง ๆ เช่น ค่าธรรมเนียมในการซื้อขาย ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละโบรกเกอร์ ก่อนตัดสินใจเปิดบัญชีซื้อขายหุ้น

 

        หรืออีกทางหนึ่ง ผู้ลงทุนอาจจะลองศึกษารายละเอียดของ แบบประกันควบการลงทุน หรือยูนิตลิงค์ ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์การวางแผนการเงินระยะยาว มีผู้เชี่ยวชาญระดับโลกคอยดูแลปรับพอร์ต ด้วยแผนการลงทุนที่ยืดหยุ่นตามความต้องการของแต่ละช่วงชีวิต โดย ทีมงาน AVC ที่ปรึกษาการเงินมืออาชีพจากบริษัท AIA พร้อมให้คำแนะนำคุณนับตั้งแต่เริ่มต้น รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก

 

ที่มาข้อมูล

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญฟรี!

ทีมงานของเราพร้อมให้คำปรึกษาคุณ