จากสถานการณ์โรคโควิด-19 ที่กำลังระบาดอย่างรุนแรงในประเทศไทย ส่งผลกระทบในวงกว้าง ทำให้ได้รับความเดือดร้อนกันจำนวนมาก ต่างคนต่างหวาดระแวงซึ่งกันและกัน เพราะกลัวว่าจะนำเชื้อมาติดหรือกลัวไปติดเชื้อจากคนอื่น ๆ โดยเฉพาะความจำเป็นที่จะต้องเดินทางไปยังสถานที่เสี่ยง เช่น ตลาดสด ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร คาเฟ่ ต่าง ๆ เพราะแม้แต่คนที่ดูแลตนเองดีก็ยังสามารถติดเชื้อโควิดได้ ดังนั้น เพื่อส่งเสริมเรื่องความปลอดภัย เราจึงมีแนวทางในการป้องกันตนเองจากโรคโควิด-19 มาฝากดังนี้
จะทำอย่างไร ถ้าเราติดโควิด
แนวทางป้องกันตนเองจากโรคโควิด เพื่อป้องกันการติดเชื้อและลดการแพร่เชื้อ
- ออกจากบ้านเมื่อจำเป็น เมื่อออกจากบ้านควรเว้นระยะห่างจากคนอื่น อย่างน้อย 1-2 เมตร
- สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากป้องกันการติดเชื้อตลอดเวลา
- หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีคนจำนวนมาก สถานที่แออัด
- หลีกเลี่ยงการใช้รถประจำทางที่มีคนมาก
- หลีกเลี่ยงการใช้มือจับหรือสัมผัสใบหน้า ดวงตา จมูก ปาก เมื่ออยู่นอกบ้าน เว้นเสียแต่ทำความสะอาดมือเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
- เลือกทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ๆ ใช้ช้อนส่วนตัว และแยกสำรับจะดีที่สุด ไม่นั่งร่วมโต๊ะกันหรือเว้นระยะห่าง
- หากเดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง จะต้องแจ้งผู้ใหญ่บ้านหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกครั้งเมื่อเดินทางไปถึง
- ในกรณีที่มีการสัมผัสหรือใกล้ชิดผู้ป่วย ให้เข้ารับการตรวจที่โรงพยาบาลในทันที
- ระหว่างรอผลตรวจ ให้กักตัวเองและคนในครอบครัวให้อยู่ในบ้านหรือสถานที่กักตัวที่หน่วยงานของรัฐจัดหาไว้ให้
- หมั่นสังเกตตนเองหากมีไข้ ไอ เจ็บคอ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส ให้รีบติดต่อโรงพยาบาลเพื่อรับการตรวจซ้ำและรักษาในทันที
แนวทางการปฏิบัติตัวเมื่อรู้ว่าตนเองติดเชื้อโควิด
- บัตรประจำตัวประชาชน
- ใบรายงานแพทย์ที่ระบุอาการสำคัญ พร้อมผลตรวจวินิจฉัย
- (ถ้ามี) เอกสารกรมธรรม์ ประกันสุขภาพ หรือ ประกันโควิด หากมีหลายฉบับให้เตรียมไว้ให้หมด เพราะสามารถเคลมได้ทุกฉบับ
- สำเนาหน้าบัญชีธนาคาร กรณีที่ต้องการให้บริษัทประกันโอนเงินค่ารักษาหรือค่าสินไหมอื่น ๆ
- ของใช้ส่วนตัว
- เครื่องนอนที่จำเป็น ในกรณีที่ต้องเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลสนาม
- สายชาร์จโทรศัพท์พร้อมปลั๊กไฟส่วนตัว
สำหรับคนที่ทำ ประกันสุขภาพ หรือ ประกันโควิด เอาไว้และได้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล ให้นำเอกสารที่พกติดตัวมามอบให้กับทางเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล ทางเจ้าหน้าที่จะตรวจสอบสิทธิ์ของกรมธรรม์ ว่ามีสถานะความคุ้มครองของสัญญาหรือไม่ หากได้รับความคุ้มครองก็จะพิจารณาและประสานกับทางบริษัทประกันให้โดยตรง ซึ่งทางบริษัทประกันเมื่อได้รับการเรียกร้องตามข้อมูลที่ได้จากโรงพยาบาลก็จะแจ้งผลกลับไปยังโรงพยาบาลถึงสิทธิ์ที่ผู้เอาประกันจะได้รับ
- กรณีที่มีค่าใช้จ่ายเกินจากสิทธิ์ ผู้เอาประกันจะต้องเป็นผู้ชำระค่าส่วนต่างที่เกิดขึ้น
- หากผู้เอาประกันมีสิทธิได้รับค่าสินไหมชดเชยจากสัญญาอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น ค่าชดเชยกรณีหยุดงาน ทางบริษัทประกันจะพิจารณาจ่ายค่าสินไหมผ่านทางบัญชีธนาคารที่แจ้งไว้
- ในกรณีเสียชีวิต ญาติหรือผู้ได้รับผลประโยชน์จะต้องแจ้งตัวแทนกรมธรรม์ พร้อมสำเนาใบมรณบัตรและหนังสือรับรองการเสียชีวิตจากโควิด-19 เพื่อเคลมสินไหมจากบริษัทประกัน
เมื่อเข้ารับการรักษา แม้จะหายจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 แต่ยังต้องรับการฟื้นฟูสมรรถภาพของระบบทางเดินหายใจและร่างกาย ให้ท่านตรวจสอบเงื่อนไขของประกันภัยสุขภาพที่ท่านถืออยู่ว่าให้ความคุ้มครองตรงส่วนนี้หรือไม่ เพราะกรมธรรม์บางแห่งอาจพิจารณาจ่ายค่าสินไหมเฉพาะการเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลหรือโรงพยาบาลสนามเท่านั้น ดังนั้นในการทำประกันใด ๆ จะต้องพิจารณาถึงส่วนนี้ด้วย โดยเฉพาะการเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง การเลือกกรมธรรม์ควรครอบคลุมทั้งการรักษาแบบ OPD (Out-Patient Department) และ IPD (In-Patient Department) และเพื่อการคุ้มครองความเสี่ยงสูงสุด ควรเลือกซื้อประกันอุบัติเหตุร่วมด้วย เพราะไม่มีใครคาดเดาได้ว่าจะเกิดอุบัติเหตุเกิดขึ้นกับตนเองเมื่อใด
ในการเลือกซื้อกรมธรรม์คุ้มครองไม่ว่าจะเป็น ประกันสุขภาพ ประกันชีวิต หรือประกันโควิด ควรอ่านรายละเอียดเงื่อนไขต่าง ๆ ให้ดีก่อนตัดสินใจ เพราะบางครั้งอาจทำให้ผู้เอาประกันเสียสิทธิ์และสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายโดยเปล่าประโยชน์ เนื่องจากประกันภัยสุขภาพบางแห่งยังให้ความคุ้มครองโรคโควิด-19 โดยที่ไม่ต้องซื้อความคุ้มครองเพิ่มเติม สามารถใช้สิทธิ์ได้เลยทันที ในขณะที่ประกันโควิด จะต้องได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าติดเชื้อโควิดเท่านั้นจึงจะสามารถเบิกค่ารักษาหรือเคลมประกันได้ รวมถึงประกันชีวิต หากเสียชีวิตจากโควิดทางกรมธรรม์ก็ยินดีจ่ายตามสัญญาไม่ว่าจะเสียชีวิตจากโควิดหรือไม่ ซึ่งทางประกันโควิดจะจ่ายให้เฉพาะเสียชีวิตและได้รับการรับรองจากแพทย์ว่าเสียชีวิตจากโควิดเท่านั้น เพราะประกันโควิดเป็นประกันระยะสั้น สัญญาปีต่อปี หากวัคซีนได้รับการพัฒนาและมีเสถียรภาพสามารถต้านทานเชื้อไวรัสได้ อาจจะไม่เห็นประกันโควิดอีกเลยก็เป็นได้
ที่มาข้อมูล
–https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/int_protection/int_protection_pdf
–https://www.tisco.co.th/th/advisory/tisco-article-buy-insurance-covid.html
– https://www.aia.co.th/th/help-support/unexpected-health-issues/COVID-19html