5 แนวคิดการวางแผนมรดกแบบคนรวย
บรรดาคนรวยที่วางแผนโอนทรัพย์มรดกให้ลูกหลานต้องคิดถึงภาษีมรดกจากการให้อสังหาริมทรัพย์ เงินฝาก ยานพาหนะหรือหลักทรัพย์อื่น ๆ ถ้าขาดการวางแผนอย่างรอบคอบอาจส่งผลเสียทำให้ลูกหลานต้องจ่ายภาษีมากจนเกิดความลำบาก การทำ ประกันสุขภาพ ครอบคลุมค่ารักษายามเจ็บป่วยเพื่อให้มีเงินเหลือเก็บไว้ให้ลูกหลานและการซื้อประกันมรดกซึ่งเป็นประกันแบบตลอดชีพช่วยวางแผนการเงินให้ลูกหลานใช้เป็นเงินสำรองในการชำระภาษีได้ แนวคิดของคนรวยในการวางแผนมรดกเพื่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุดมี 5 แนวทางดังนี้
ที่มารูปภาพ:
https://www.freepik.com/free-photo/kid-earning-money-future_2766010.htm#page=1&query=money%20to%20child&position=18
1.วางแผนแบ่งทรัพย์สินให้ทายาท
คนรวมที่มีทรัพย์สินมากต้องรอบคอบในการส่งต่อมรดกให้บุตรหลานดูแลภายหลังจากตนเองไม่อยู่แล้ว โดยวางแผนปันส่วนและจัดทำพินัยกรรมตามกฎหมายอย่างชัดเจนเพื่อป้องกันปัญหาขัดแย้งระหว่างคนในครอบครัว การซื้อประกันชีวิตดูแลมรดกให้เป็นไปตามความต้องการทั้งในกรณีที่ผู้ให้จากไปก่อนวัยอันควรและโอนให้ก่อนเสียชีวิต การทำประกันมรดกช่วยให้กำหนดจำนวนเงินที่แน่นอนส่งมอบให้ทายาทหรือคนอื่นที่ไม่ใช่ญาติได้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ตรงกับความตั้งใจ ข้อดีของการวางแผนส่งต่อมรดกผ่านประกันชีวิตคือการจัดการเงินและทรัพย์สินรวดเร็วตามรายละเอียดในกรมธรรม์โดยไม่ต้องผ่านผู้จัดการมรดกหรือกระบวนการทางศาลซึ่งกินเวลานานและอาจเกิดความยุ่งยากจากความขัดแย้งของเหล่าผู้รับมรดก
เพราะไม่รู้ว่าอนาคตจะเกิดอะไรขึ้น ถ้าต้องจากไปก่อนวัยอันควรทั้งการทำประกันมรดกและ ประกันสุขภาพ เป็นการวางแผนสร้างหลักประกันให้กับลูกหลานได้รับเงินก้อนโตในช่วงเวลาที่โตขึ้นและมีความรับผิดชอบมากพอแล้ว แม้ว่าเจ้าของมรดกจะไม่ได้อยู่จนถึงวันครบกำหนดกรมธรรม์แต่มั่นใจได้ว่าบริษัทประกันช่วยดูแลผลประโยชน์ให้ลูกหลานของเราได้ดีที่สุด
2.ศึกษากฎหมายมรดกและภาษี
การมอบมรดกเกี่ยวข้องกับการเสียภาษี มีหลักเกณฑ์ด้านกฎหมายภาษีมรดกและภาษีการโอนทรัพย์สินที่ต้องศึกษาให้เข้าใจชัดเจนเพื่อให้ผู้รับได้ประโยชน์สูงสุดและไม่ต้องแบกรับภาระการเสียภาษีมากเกินไป เพราะภาษีมรดกเป็นภาษีที่เรียกเก็บจากผู้รับมรดกโดยตรง มีรายละเอียดดังนี้
- เจ้าของมรดกทำพินัยกรรมล่วงหน้า หลังจากเสียชีวิตแล้วทรัพย์สินถูกส่งต่อไปยังผู้รับซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีมรดกโดยจ่ายเฉพาะส่วนที่เกิน 10 ล้านบาทขึ้นไป อัตราภาษีสำหรับทายาทสืบสายเลือด 5% และบุคคลอื่นจ่าย 10%
- การส่งต่อมรดกเป็นทรัพย์สินไม่ได้มีเฉพาะสังหาริมทรัพย์ประเภทเงินสดและเงินกองทุนต่าง ๆ แต่ยังรวมถึงอสังหาริมทรัพย์ที่มองให้ทายามตามกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง ภาษีจากการโอนมรดกให้ในขณะที่เจ้าของมรดกยังมีชีวิตอยู่ ต้องจ่ายภาษีตามอัตราที่กฎหมายกำหนด
ด้วยเหตุผลดังกล่าวการส่งต่อมรดกผ่านการทำประกันชีวิตเป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยม เพราะเปลี่ยนจากทรัพย์สินมรดกให้เป็นสินไหมหรือผลประโยชน์ที่ได้รับตามกรมธรรม์จึงไม่ต้องเสียภาษี นอกจากนี้การทำ ประกันสุขภาพ เป็นอีกวิธีในการรับสิทธินำไปลดหย่อนภาษีรายได้ มีหลายแนวคิดที่เป็นประโยชน์น่าสนใจสามารถสอบถามได้จากตัวแทนประกันชีวิตโดยตรง
3.ส่งมอบมรดกในเวลาที่เหมาะสม
คนรวยส่วนใหญ่ต้องการให้ลูกหลานเข้าใจและเห็นคุณค่าของความมั่งคั่ง เริ่มคุยกับลูกหลานเรื่องมรดกตั้งแต่อายุยังน้อยเพื่อให้แน่ใจว่าผู้รับมรดกเข้าใจความคาดหวังของผู้ให้อย่างชัดเจน พร้อมทั้งจัดสรรทรัพย์สินที่สามารถทยอยมอบให้ได้โดยไม่จ่ายภาษีมากเกินไป ส่วนมรดกที่ยังไม่สามารถถ่ายโอนได้อาจใช้วิธีทำ ประกันสุขภาพ และซื้อประกันชีวิตเพื่อมอบทรัพย์สินก้อนสุดท้ายหรือเงินก้อนใหญ่ไว้ให้ทายาทในรูปแบบของสินไหมมรณกรรมให้กับผู้รับประโยชน์ที่มีชื่อในกรมธรรม์ ทำให้ได้รับสิทธิประโยชน์ไม่ต้องเสียภาษี
4.จัดการกับดอกผลของมรดกอย่างถูกต้อง
การทำความเข้าใจขอบข่ายของมรดกอย่างชัดเจนช่วยให้จัดสรรทรัพย์สินได้อย่างถูกต้อง สามารถแยกแยะได้ว่าทรัพย์ส่วนใดบ้างที่ไม่ถือเป็นมรดก เช่น เงินบำนาญที่ได้รับหลังเสียชีวิตไม่นับเป็นมรดก เงินทุนสงเคราะห์เพื่อช่วยเหลืองานศพ เงินทดแทนจ่ายให้ลูกจ้างที่เสียชีวิตตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ดอกผลของมรดกที่งอกเงยภายหลังเจ้าของมรดกเสียชีวิตไปแล้ว เงินประกันชีวิตซึ่งผู้รับประโยชน์ตามที่ระบุในกรมธรรม์ได้รับภายหลังผู้เอาประกันเสียชีวิตไม่ใช่มรดก กรณีผู้รับประโยชน์เสียชีวิตก่อนควรเปลี่ยนชื่อผู้รับเป็นคนใหม่ ถ้าระบุผู้รับหลายชื่อ เงินเอาประกันภัยจะตกเป็นของผู้รับประโยชน์ที่เหลือ
5.ทำบัญชีทรัพย์สินตรวจสอบสถานะการเงินเสมอ
หากต้องการวางแผนส่งมอบมรดกไปยังทายาทอย่างเหมาะสมจำเป็นต้องรู้สถานะทางการเงินของตัวเอง โดยทำบัญชีทรัพย์สินที่มีอยู่และวางแผนจัดสรรว่าจะส่งมอบต่อไปให้ใคร ตรวจสอบอย่างละเอียดว่าทรัพย์สินประเภทใดบ้างที่ต้องเสียภาษี เช่น อสังหาริมทรัพย์ รถยนต์ เงินฝาก เงินกองทุนรวม พันธบัตรและหลักทรัพย์ตามกฎหมายอื่น ๆ มองหาวิธีช่วยลดภาระด้านภาษีมรดกโดยการเปลี่ยนเงินสดเป็นการซื้อ ประกันสุขภาพ เพื่อคุ้มครองในยามเจ็บป่วยหรือเกิดอุบัติเหตุไม่ต้องจ่ายค่ารักษาแพง เงินเหลือเก็บไว้ให้ลูกหลานตามเป้าหมาย ส่วนการทำประกันชีวิตเป็นแผนเปลี่ยนทรัพย์สินให้เป็นมรดกส่งต่อให้ลูกหลานโดยไม่เสียภาษีและมอบให้ตามกำหนดเวลาในกรมธรรม์เพื่อให้มั่นใจว่าทายาทหรือผู้รับจะได้รับทรัพย์สินทั้งหมดอยู่ในมือในเวลาที่เหมาะ ไม่ฟุ้งเฟ้อเพราะถือเงินก้อนโตอยู่ในมือตั้งแต่อายุยังน้อยเกินไป
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการมรดกและภาษีมรดกข้างต้นมีประโยชน์ต่อผู้ที่กำลังวางแผนโอนทรัพย์ในให้ลูกหลานที่เป็นทายาทโดยตรงหรือผู้รับประโยชน์ที่ไม่ใช่ญาติให้รู้สึกอุ่นใจว่าแผนการส่งต่อมรดกเป็นไปตามที่คาดหวังจริง ๆ คนรวยที่มีทรัพย์สินปริมาณมากมักจะวางแผนระยะยาวอย่างรอบคอบเสมอ โดยเลือกทำประกันชีวิต AIA PRESTIGE ให้ดูแลบริหารจัดการส่งมรดกต่อไปยังลูกหลานให้ได้รับทรัพย์สินก้อนใหญ่ในเวลาที่เหมาะสม ที่สำคัญคือผู้รับมรดกไม่ต้องลำบากเพราะภาษีก้อนโตไปฟรี ๆ อีกต่อไป
ที่มาข้อมูล
–https://www.aia.co.th/th/index.html
–https://www.aiaplanner.com/aia-prestige/
–https://www.posttoday.com/finance-stock/insurance/414129
–https://www.set.or.th/set/financialplanning/lifeevent.do?innerMenuId=14&name=lifeevent_detail_retire-6